วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปลาคาร์ฟ


Koi_Art_010
ชื่อวิทยาศาสตร์  : cyprinus carpio linn
           ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซี คาร์ฟ (Fancy carp) หรือที่เรียกกันว่า ปลาไนแฟนซี  ปลาไนสี 
หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน (carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า  โคย (Koi)
หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi)เดิมทีเป็นปลาไนชนิดธรรมดา ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบอยู่ทุกหนทุกแห่ง
ในโลก  

ลักษณะทั่วไป : โดยทั่วไปปลาเพศเมียจะมีความกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้ บริเวณส่วนท้องจะใหญ่
นิ่ม ช่วงหัวจะกลม และป้านกว่าเพศผู้  ในฤดูสืบพันธุ์ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่สมบูรณ์  จะมีส่วนท้องขยายกว้าง
ใหญ่ออกจนถึงเกือบจะเป็นรูปสามเหลี่ยม  เมื่อจับหงายท้องดูที่ช่องเพศจะสังเกตเห็นช่องเพศใหญ่และนูน
ออกเป็นรูปกลม ส่วนปลาเพศผู้ช่องเพศมีลักษณะเล็กเรียวกว่า และเว้าข้างในเล็กน้อย  เมื่อจับรีดท้องเพียง
เบา ๆ จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมา และเมื่อเอามือลูบบริเวณแก้มหรือครีบหูจะรู้สึกสาก ๆ

 ถิ่นกำเนิดเดิม :  ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของปลาไน  คือประเทศอิหร่าน   ชาวจีนเป็นชนกลุ่มแรกที่ได้ทำการศึกษา
เกี่ยวกับปลาไนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศญี่ปุ่น ตามหลักฐานตามประวัติศาสตร์ชิ้นแรกที่มี
อยู่เกี่ยวกับ Koi นั้นได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณสองร้อยปีหลังคริสต์ศตวรรษ หลักฐานดังกล่าวได้เล่าถึงปลาชนิดนี้
ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปลาเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้สำหรับดูเล่น

ที่อยู่อาศัย : ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด ที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้ดีมาก แม้ในสภาพอากาศร้อนปลาชนิดนี้
ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก

การสืบพันธุ์ : ปลาแฟนซีคาร์ฟจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกัน แล้วแต่่สถานที่ที่ปลาอาศัยอยู่
ฤดูวางไข่ของปลาเหล่านี้ในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม     ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศ
อบอุ่น     ส่วนในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ เป็นช่วงฤดูหนาว  ปลาจะไม่เจริญเติบโตและไม่
สืบพันธุ์  สำหรับประเทศไทยนั้นปลาแฟนซีคาร์ฟสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน  ซึ่งพ่อแม่
ปลามีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  :  ในประเทศไทยปลาแฟนซีคาร์ฟที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุ ตั้งแต่2 ปี
ขึ้นไป  หลักการคัดเลือกปลาแฟนซีคาร์ฟ เพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรคัดจากปลาที่อยู่ในกลุ่มสีเดียวกัน หรือ
ต่างกันในกรณีที่ต้องการให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ พ่อแม่พันธุ์จะต้องมีรูปร่างที่ถูกลักษณะ สมบูรณ์ไม่พิการ มีสีและ
ลวดลายที่เด่นชัดเนื่องจากสายพันธุ์ที่ดีจะมีโอกาสให้กำเนิดลูกปลาที่ดี และสวยงามในเปอร์เซ็นต์สูงกว่าปลา
ที่สายพันธุ์ไม่ดี

การฟักไข่และอนุบาลลูกปลา ไข่ปลาแฟนซีคาร์ฟเป็นไข่ที่ติดกับวัสดุ มีสีเหลืองอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 1.7 มิลลิเมตร   ไข่ที่ผสมแล้วมีลักษณะโปร่งใส ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 45 ชั่วโมง    อุณหภูมิ
ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส เมื่อฟักเป็นตัวใหม่ ๆ  ตัวอ่อนจะเกาะติดกับวัสดุใต้น้ำ   ลูกปลาวัยอ่อนจะกิน
อาหารจากถุงไข่แดง (Yolk sac) ที่ติดอยู่ที่ตัวปลา เมื่อถุงไข่แดงยุบ (ประมาณ 2-3 วัน)  ปลาจะเริ่มว่ายน้ำ
และหาอาหารธรรมชาติ  อาหารในช่วงแรกนี้ควรใช้นมผง หรือไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ละลายน้ำให้กินวันละ
 4-6 ครั้ง จากนั้นจึงให้ไรแดงจืดเป็นอาหาร  ลูกปลาจะเริ่มเกิดครีบหาง และครีบหูเมื่ออายุ 6 วัน เริ่มมีเกล็ด
เมื่ออายุ 12 วัน และจะเจริญเติบโตจนมีรูปร่างและอวัยวะต่าง ๆ ครบเหมือนปลาทั่วไป   เมื่ออายุได้ 15วัน
ซึ่งในระยะนี้ลูกปลาจะมีความยาวเฉลี่ย 1.7 เซนติเมตร


ที่มา
http://my.dek-d.com/pongsak028/blog/?blog_id=10162035
ปลาหางนกยูง



สีสันของปลาหางนกยูง
การเลี้ยงปลาหางนกยูง
อย่างแรกเลยผมต้องบอกถึงข้อดีในการเลี้ยง ปลาหางนกยูง ก่อนอย่างแรกเลยครับ ข้อดีข้อแรกก็คือ ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่มีความอดทนอย่างมาก เป็นปลาที่ตายยากแม้จะอยู่ในสภาวะน้ำที่เน่า ซึ่งน้ำเน่าจะมีออกซิเจนน้อยมากแต่ปลาหางนกยูงก็สามารถที่จะอยู่ได้ ข้อดีข้อที่สอง ปลาหางนกยูงสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและอัตราการรอดของลูกปลาหนึ่งครอกก็มีสูงเสียด้วย
ปลาหางนกยูง เป็นที่รู้จักของคนในบ้านเราในฐานะปลากินยุง ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อกำจัดยุงลาย ซึ่งต้นกำเนิดของปลาหางนกยูงไมได้อยู่ที่ประเทศไทยแต่อยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้นู่นเลยละครับ

ปลาหางนกยูงมีลวดลายที่สวยงามและเป็นที่หลงใหล
ลักษณะของปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง จะแยกเพศด้วยการสังเกตที่ลักษณะตัว สำหรับตัวผู้นั้นจะตัวเล็กกว่าตัวเมียและจะมีหางที่มีสีสันสวยงาม แต่ตัวเมียจะมีขนาดตัวที่ใหม่กว่าและจะไม่มีสีสันเลย
การผสมพันธุ์เราสามารถเริ่มผสมพันธุ์ปลาหางนกยูงเมื่อปลาหางนกยูงมีอายุได้ประมาณ 2 ถึง 3 เดือนก็สามารถที่จะออกลูกออกหลานให้เราได้แล้ว โดยในบ่อหรือในตู้กระจกที่เราเลี้ยงควรที่จะมีพรรณไม้น้ำเป็นที่กำบังให้กับลูกปลาด้วยเหตุเพราะว่าถ้าลูกปลาไม่แข็งแรงพอที่จะว่ายน้ำหนีปลาตัวใหญ่ได้ ลูกปลาก็อาจจะกลายเป็นอาหารของปลาตัวใหญ่ได้เหมือนกัน

ควรมีพรรณไม้น้ำเป็นเครื่องป้องกันให้หลบภัยด้วย
                สิ่งที่เราควรระวังให้มากที่สุดเพาะพันธุ์ถ้าเราคิดจะเล่นลวดลายและสีสันของปลาหางนกยูงก็คือ เราควรที่จะเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่มีสายเลือดชิดกันเพราะถ้ามีสายเลือดชิดกันจะเกิดลูกที่มีลักษณะไม่เหมาะสม และลูกปลาจะไม่แข็งแรง นอกจากการคัดเลือกสายพันธุ์แล้วเราควรที่จะมั่นดูแลเรื่องของอาหารการกินของปลาหางนกยูงด้วยเพื่อที่จะได้ลูกปลาที่มีสัดส่วนสมส่วน และสีสันสดใส สำหรับอาหารนั้นเราสามารถเอาอาหารสำเร็จรูปของปลาดุกมาให้ก็ได้ การให้อาหารเราควรเริ่มให้แต่น้อยแล้วลองสังเกตว่าปลากินหมดหรือเปล่า ถ้าหมดก็ให้เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆแต่ถ้าไม่หมดก็ลดปริมาณลงมา ซึ่งจะช่วยในการดูแลเรื่องของน้ำไปด้วยอีกทางหนึ่ง

                                          ถ้าเราเลี้ยงในบ้านผมแนะนำให้เป็นตู้กระจกจะดีที่สุด
ที่มา  http://www.thaiarcheep.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html

ปลากัด


ไม่กี่ปีมานี้ ปลากัดไทยได้รับความนิยมในตลาดคุนหมิงอย่างมาก เนื่องจากมีลวดลายสวยงาม แข็งแรง และจังหวะการว่ายอรชรอ้อนแอ้น จนทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ปัจจุบัน ปลากัดไทยมียอดจำหน่ายในนครคุนหมิงถึงปีละ 6 ล้านหยวน
ปลากัดในตลาดคุนหมิงส่วนใหญ่นำเข้าจากปทท. บางส่วนนำมาจากมณฑลซานตง กวางตุ้ง และปักกิ่ง ช่วง 2 ปีมานี้ ราคาปลากัดสูงขึ้นอย่างมาก ปลากัดทั่วไปจากตัวละ 5 หยวน เพิ่มเป็น 40 หยวน และหากเป็นปลากัดคุณภาพดี จะมีราคาสูงถึงตัวละ 500 หยวน หรือ 2,500 บาท



นาย Xu Yuan อาจารย์ผู้ชำนาญด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรยูนนาน กล่าวว่า ปลากัดเพศเมียมีสีสันไม่สดใส ที่จำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่เป็น เพศผู้ ซึ่งมีความสวยงามและจิตสำนึกเรื่องดินแดนแข็งแกร่งกว่า
การปรับปรุงพันธุ์ด้านสีสัน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ชื่นชอบปลากัดให้ความสนใจอย่างมาก ยีนของปลากัดไทยมีความไม่แน่นอน การผสมของพ่อแม่พันธุ์จะให้สีสันที่แตกต่างในรุ่นลูก ตัวอย่างเช่น พ่อแม่พันธุ์สีดำสามารถให้กำเนิดลูกที่มีสีม่วง สีเขียวเข้ม สีน้ำเงินเข้ม หรือสีผสม 2-3 สี แม้ราคาปลากัดจะสูง แต่การผสมพันธุ์และได้ปลากัดสีสันใหม่ ๆ ทำให้ผู้รักปลากัดทุกคนเกิดความสนุกและภูมิใจ โดยปลากัดภายในประเทศราคาตัวละ 40-100 หยวน แต่ปลากัดนำเข้าราคาตัวละ 500-1,000 หยวน
นาย Huang Meng ผู้รับผิดชอบด้านการตลาดบริษัทวิจัยและพัฒนาปลาสวยงามหยุนจิ่นคุนหมิง เล่าว่า ผู้นำเข้าปลากัดจากคุนหมิงมักจะบินไปปทท. และสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการปลากัดของไทยที่มีชื่อเสียงดีและถูกระเบียบ เมื่อได้ปลากัดตามต้องการ จะให้ตัวแทนบริษัทนำเข้าส่งออกจากนครกว่างโจวดำเนินการเรื่องนำเข้า “บริษัทเหล่านี้มีความคุ้นเคยในการนำเข้าปลากัด ขนส่งผ่านทางเครื่องบิน เพียงแค่หนึ่งวันปลากัดจากไทยก็ถึงกว่างโจว และส่งต่อไปยังตลาดคุนหมิง”
แหล่งข้อมูล
เว็บไซต์ข่าว http://yn.yunnan.cn/html/2014-09/14/content_3366259.htm วันที่ 14 ก.ย. 2557
ที่มา : www.thaibizchina.com
ปลาทอง
               เป็นปลาสวยงามอันดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง เพราะสวยงามและดูมีชีวิตชีวา แถมชื่อยังเป็นมงคลอีกด้วย นักเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น จึงเลือกเลี้ยงเจ้าปลาชนิดนี้ไว้ดูเล่นกันเป็นจำนวนมาก แม้ว่าปลาทอง จะเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไม่ยาก แต่หลายต่อหลายคนก็อกหักจากการเลี้ยงปลาทองมาแล้วไม่น้อย เนื่องจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่าย ๆ หากไม่รู้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้อง และวันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการเลี้ยงมาฝากกัน
 ก่อนอื่นมาทำความรู้จักปลาทองที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในไทย แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ 
 1.ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขน
  2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงาม
ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
 ในการเลี้ยงปลาทองให้สุขภาพแข็งแรง และมีสีสันสดใส จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง และภาชนะที่ใช้เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทองได้ 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นสถานที่ไม่อับแสง และแสงไม่จ้าจนเกินไป ทั้งนี้ ควรใช้ตาข่ายพรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อ ส่วนสภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
  การให้อาหาร
 แนะนำว่าควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง โดยการให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ เนื่องจากปลาทองค่อนข้างกินจุ ดังนั้นอย่าตามใจปากปลาทอง ส่วนอาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดง สามารถให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา ลักษณะปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วน สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา และเมื่อมองจากมุมด้านบนจะสังเกตเห็นความกว้างของลำตัวอ้วนหนาและบึกบึน ขณะที่สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้ม
คุณภาพของน้ำ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีน ควรเตรียมน้ำก่อนนำมาใช้เลี้ยงปลาทุกครั้ง โดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนระเหย หรืออาจติดตั้งเครื่องกรองน้ำใช้สารเคมีโซเดียมไธโอซัลเฟตละลายลงในน้ำ มีคุณสมบัติในการกำจัดคลอรีน แต่ควรดูสัดส่วนในการใช้ เพราะสารเคมีพวกนี้มีผลข้างเคียงต่อปลาหากใช้ไม่ถูกวิธี 
  อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ

          ปลาทองส่วนใหญ่เคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซินเจน ดังนั้น อย่างน้อยในภาชนะเลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำ เป็นการทำให้เกิดการเติมออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียส แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว หากซื้อปลาบรรจุถุงมา เวลาจะปล่อยปลาลงในอ่างเลี้ยง ควรแช่ถุงลงในอ่างเลี้ยง 10-15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำในถุงกับในอ่างถ่ายเทเข้าหากันจนใกล้เคียงกัน แล้วค่อยปล่อยปลาลงไปA


พันธ์ปลาสวยงาม


 

 

การเลี้ยงปลาสวยงามในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก มีการนำปลาแปลกๆและปลาที่ไม่ค่พบเห็นได้ง่าย    นักมาจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้ปลาเหล่านั้นจะไม่สวยงามแต่ก็ได้รับความนิยม เพราะมีการนำเลี้ยงเพื่อประดับห้องรับแขก หรือใช้ในการตกแต่งห้องโชว์รูม ทำให้มีการเน้นเพิ่มความสวยงามเป็นพิเศษ และเพิ่มบรรยากาศของความมีชีวิตชีวาให้มากขึ้น จึงมักนิยมใช้ตู้กระจกสำหรับเลี้ยงปลา และตกแต่งด้วยอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้ดูสวยงาม ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ตกแต่งให้มีรูปทรงต่างๆมากมาย

อ้างอิง  
http://tananyawor.blogspot.com/2013/10/2-1.html
http://tananyawor.blogspot.com/2013/10/2-1.html
http://tananyawor.blogspot.com/2013/10/2-1.html